เสวนาวิชาการ เรื่อง สิทธิของผู้สูงอายไทยในสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

เสวนาวิชาการ เรื่อง สิทธิของผู้สูงอายไทยในสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
วันที่ 21 FEB 2018 | ผู้เข้าชม 3,273 ครั้ง

รมว.พม. เป็นประธานเสวนาวิชาการ เรื่อง สิทธิของผู้สูงอายไทยในสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

รัฐมนตรีว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์)      เป็นประธานในเวทีเสวนาวิชการ เรื่อง สิทธิของผู้สูงอายไทยในสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ พร้อมให้เกียรติกล่าวปัจฉิมกถา หัวข้อ “สิทธิของผู้สูงอายุไทย ต้องก้าวไกลให้ทันการเปลี่ยนแปลง” ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.00 – 13.30 น. ณ ห้องประชุมแมนดาริน เอ โรงแรมแมนดาริน ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพฯ
รัฐมนตรีว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์) เปิดเผยว่า จากงานวิจัย เรื่อง“การศึกษาปัญหาและความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิ และประเมินสถานการณ์เพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุ” สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ์ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับอัตราการขยายตัวประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นปีละ ราว 5 แสนคน ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเดินหน้าเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในปี พ.ศ.2568 พบว่าปัญหาความรุนแรงและการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งคือ ปัญหาความรุนแรงด้านจิตใจ โดย 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่าเคยถูกกระทำรุนแรงด้านจิตใจ เช่น พูดไม่ดี ทะเลาะ ทำให้เสียใจ น้อยใจ บางครั้งผู้สูงอายุรู้สึกว่าลูก-หลานไม่เข้าใจ ไม่มีเวลาให้ ไม่เป็นคนสำคัญในครอบครัว อันดับที่ 2 คือ การทอดทิ้ง ไม่ดูแล ข้อมูลสถิติจากศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300) แจ้งว่าจากเดิมจะมีข้อมูลปัญหาผู้สูงอายุพลัดหลง สูญหาย เร่ร่อนเป็นอันดับ 1 แต่ปัจจุบันเป็นปัญหาผู้สูงอายุขาดผู้ดูแล โดยในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาปัญหานี้เพิ่มเป็น 10 เท่า รวมทั้งปัญหาลูกหลานดูแลผู้สูงอายุไม่ไหว และสถานสงเคราะห์ของผู้สูงอายุก็มีจำนวนจำกัด สำหรับปัญหาความรุนแรงอันดับ 3           ที่การศึกษาพบคือการเอาประโยชน์ในด้านทรัพย์สิน คนในครอบครัวเอาทรัพย์สินไป หรือถูกหลอกให้ทำธุรกรรมต่างๆ รวมทั้งผู้สูงอายุถูกกระทำโดยคนนอกครอบครัว เช่น ถูกหลอกให้ซื้อสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ      หลอกให้ทำธุรกรรมต่างๆ จากจำนวน 70 ราย ปี 2548 พบปัญหาเกิดขึ้นในปี 2559 จำนวน 700 ราย เห็นได้ว่าขนาดของปัญหาเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ปัญหาความรุนแรงอันดับที่ 4 คือปัญหาความรุนแรงในการทำร้ายร่างกาย เรามักพบปัญหานี้จากการนำเสนอของสื่อ คนที่ทำร้ายร่างกายมักเป็นคนใกล้ตัว ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าผู้ทำร้ายมีปัญหาสุขภาพจิต หรือติดสุรา สารเสพติด เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรง และอันดับ 5 คือความรุนแรงทางเพศ ถูกล่วงละเมิดทางเพศซึ่งถูกกระทำโดยคนใกล้ชิดในครอบครัว หรือในชุมชน และมักเกิดกับผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวลำพัง นอกจากนี้การศึกษาปัญหาและความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุพบว่าจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของผู้สูงอายุ คือ เมื่อสูญเสียคู่ครองหรือสมาชิกในครอบครัว เมื่อเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในสภาวะพึ่งพิง และเมื่อเกิดอาการโรคสมองเสื่อม
เมื่อกล่าวถึงการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุไทยนั้น ผู้สูงอายุได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ และยังมีกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุรองรับตามหลักการใหญ่ๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสังคม มาตรการคุ้มครอง
- 2 -
ทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องมีผู้ทำหน้าที่ผู้พิทักษ์คุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ เนื่องจากการที่ผู้สูงอายุจำนวนมากถูกละเมิดสิทธิ์  ผู้พิทักษ์คุ้มครองสิทธิฯ สามารถจะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เกิดในอนาคต เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และสังคมสูงอายุในระดับสุดยอด สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักรู้ และส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจให้กับสังคมและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ ชมรม เครือข่ายผู้สูงอายุ ตลอดจนตัวผู้สูงอายุเองต้องมีส่วนร่วม     ในการเฝ้าระวัง และป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุ พร้อมกับแนวทาง มาตรการดำเนินงานที่เข้มแข็งของภาครัฐบาล ที่จะร่วมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ทางสังคม และมุ่งส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุ ส่งเสริมสิทธิให้สามารถตัดสินใจ รวมทั้งกำหนดแนวทางในเรื่องสำคัญได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์)     กล่าวทิ้งท้ายเพิ่มเติมว่า การกำหนดแนวทางเพื่อการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุไทยนั้น จะเป็นประโยชน์     ต่อการเตรียมความพร้อมรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ต่อไป


ข่าว : สถาปนวัฒน์ ภู่มาลา
ภาพ : ฌาณวิทย์ คงคาเขตร
กลุ่มสื่อสารองค์กร สำนักงานเลขานุการกรม

คลังภาพ