ธรรมะออนไลน์ หนุนนำจิตใจ กับ 6 เว็บไซต์บรรยายธรรม” สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการฟังธรรมะ เพื่อความเป็นมงคล ต้อนรับปีใหม่ แต่ไม่สามารถเดินทางไปที่วัดได้
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การฟังธรรมที่วัด เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ผู้สูงอายุมักนิยมปฏิบัติกันเป็นประจำในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจทางธรรมแล้วนั้น การฟังธรรมยังช่วยให้เกิดความผ่อนคลายและทำให้จิตใจผ่องใส ....แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ‼️ อาจทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถไปฟังธรรมที่วัดได้ เนื่องจากความเสี่ยงจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างหากต้องออกนอกบ้าน
กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ขอนำเสนอ “ธรรมะออนไลน์ หนุนนำจิตใจ กับ 6 เว็บไซต์บรรยายธรรม” สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการฟังธรรมะ เพื่อความเป็นมงคล ต้อนรับปีใหม่ แต่ไม่สามารถเดินทางไปที่วัดได้
สมัยก่อนหากจะปฏิบัติธรรม หรือฟังการบรรยายธรรม รุ่นใหญ่ก็ต้องไปวัด หรือรอให้ถึงวันพระ วันสำคัญทางศาสนา หรือไม่ก็ต้องไปตามสถานที่ปฏิบัติธรรมต่าง ๆ แต่ทุกวันนี้เราสามารถศึกษาธรรมด้วยการฟังธรรม หรือฟังหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ผ่านเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต จากที่บ้านได้อย่างสะดวกและง่ายดาย อีกทั้งยังเปิดฟังได้ซ้ำ ๆ หากยังไม่เข้าใจในหลักธรรมดังกล่าว
วันนี้ เรามี 6 เว็บไซต์บรรยายธรรม ที่น่าสนใจมาฝากกันครับ
1. ธรรมะไทย http://www.dhammathai.org/
เว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา พระธรรม คำสั่งสอน พุทธศาสนาสุภาษิต การปฏิบัติธรรม รวมถึงเสียงบรรยายธรรมจากหลวงพ่อและเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์) ซึ่งท่านได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ เป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งในช่วงชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ ท่านได้ธุดงค์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรม คำสอน จนกระทั่งเป็นที่นับถือศรัทธาของญาติโยมจำนวนมาก
2. ธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/index.php
เว็บไซต์เผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ เป็นแหล่งรวบรวมทั้งคลิปเสียงสวดมนต์ เสียงธรรมนิยาย เสียงเพลงธรรมะ ทศชาติชาดก จากเกจิอาจารย์ชื่อดัง อย่างเช่น หลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หล่องพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม และรายการเสียงเกี่ยวกับธรรมะที่น่าสนใจอีก
3. ธรรมะ ดร.สุภีร์ ทุมทอง https://www.ajsupee.com/
จัดทำโดยอาจารย์สุภีร์ ทุมทอง วิปัสสนาจารย์ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมเสียงบรรยายธรรม วีดีโอบรรยายธรรม บทสวดมนต์ นอกจากนี้ยังมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนให้ได้อ่านกันอีกด้วย
4. เสถียรธรรมสถาน https://www.sdsweb.org/new/
รุ่นใหญ่หลายๆ คนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี กับสถานปฏิบัติธรรมชื่อดังแห่งนี้ ก่อตั้งโดยแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ภายใต้ความอนุเคราะห์จาก “กองทุนเสถียรธรรม” เพื่อส่งเสริมการศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ และเผยแผ่ธรรมะ ได้จัดทำเว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม รวมถึงรวบรวมคลิปเสียงธรรมบรรยาย โดยพระโพธิญาณวิเทศ (พระอาจารย์ปสันโนภิกขุ) เจ้าอาวาสวัดป่าอภัยคีรี รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แห่งสวนสันติธรรม และพระอาจารย์ชื่อดังอีกมากมายให้ได้เลือกฟังกัน
5. ธรรมะพีเดีย http://www.thammapedia.com/index.php
รวบรวมคำแปล คำอธิบาย ดีมาก ๆ ครับ เรามามาศึกษาธรรมะ กับธรรมะพีเดียกันครับ
6. มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา https://www.dhammahome.com/
ชีวิตนี้เพื่อพระธรรม โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ อาจารย์สุจินต์ได้บรรยายพระอภิธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน ให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับคนสมัยปัจจุบัน และสามารถนำมาปฏิบัติเป็นปกติในชีวิตประจำวันตามความเป็นจริงของแต่ละคน ทั้งชีวิตแบบบรรพชิตและคฤหัสถ์ โดยไม่ต้องกระทำสิ่งใดให้ผิดปกติขึ้นมา และไม่ต้องปลีกตัวหลีกหนีจากหน้าที่การงานและสังคม อีกทั้งท่วงทำนองและน้ำเสียงการบรรยายที่ชัดเจน กังวาน และมีเหตุผลสืบเนื่องต่อกันตามลำดับ ชวนแก่การสนใจและติดตาม อนึ่ง ประการที่สำคัญที่สุดคือ การบรรยายธรรมของอาจารย์สุจินต์ เป็นการบรรยายโดยยึดถือตามหลักธรรมของพระไตรปิฎก และอรรถกถาอย่างเคร่งครัด อันส่งผลให้พระและคฤหัสถ์จำนวนมากมีความเข้าใจในพระอภิธรรมและวิปัสสนากรรมฐานอย่างถูกต้องตามพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ที่มา : https://60plusthailand.com/ธรรมะออนไลน์-หนุนนำจิตใ/?fbclid=IwAR0hYyDdgAc3gjyHoi1VjWiLKE7K5KftMTGzC2qGIZjFH2Ji1WO4XChJ2bA, https://www.awusosociety.com/lifestyle060961
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมดี ๆ รวมถึงความเคลื่อนไหวในการดำเนินงานของกรมกิจการผู้สูงอายุได้ที่..
https://www.facebook.com/OlderDOP
https://www.facebook.com/dop.go.th
http://www.olderfund.dop.go.th/home