กรมกิจการผู้สูงอายุ มีคำแนะนำในการดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 มาฝากทุกท่านจ้า

กรมกิจการผู้สูงอายุ มีคำแนะนำในการดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 มาฝากทุกท่านจ้า
วันที่ 12 MAY 2021 | ผู้เข้าชม 2,083 ครั้ง | โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์/กลุ่มอำนวยการอธิบดี

heartผส.ใส่ใจ ห่วงใย ผู้สูงวัย ปลอดภัยจาก COVID-19 ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ในช่วงโควิด-19 ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายมากกว่าคนในวัยอื่น ๆ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำลงตามวัย แม้ว่าสุขภาพโดยรวมจะแข็งแรงสมบูรณ์ดีก็ตาม ยิ่งผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งขึ้น อาจทำให้มีอาการรุนแรงและมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูง ดังนั้นในช่วงโควิด-19 ระบาดควรให้ความสำคัญในการดูแลเป็นพิเศษ วันนี้กรมกิจการผู้สูงอายุ มีคำแนะนำในการดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 มาฝากทุกท่านจ้า อย่าลืมดูแล และใส่ใจผู้สูงอายุด้วยนะคะ 

 

ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายมากกว่าคนในวัยอื่นๆ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำลงตามวัย แม้ว่าสุขภาพโดยรวมจะแข็งแรงสมบูรณ์ดีก็ตาม ยิ่งผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งขึ้น อาจทำให้มีอาการรุนแรงและมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูง ดังนั้นในช่วงโควิด-19 ระบาดควรให้ความสำคัญในการดูแลเป็นพิเศษ

การป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ให้แพร่สู่ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ

  • หากผู้สูงอายุต้องออกนอกบ้าน ควรเลือกเวลาออกจากบ้านที่ไม่เจอกับความไม่แออัด หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะและการไปในที่แออัด และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง รวมทั้งทำความสะอาดมือทุกครั้งหลังจับสิ่งของ และก่อนเข้าบ้าน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสมือกับผู้สูงอายุ และไม่ให้ผู้สูงอายุไปสัมผัสมือ และร่างกายของคนอื่น
  • ให้ผู้สูงอายุล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่นาน 20 วินาที หากไม่สะดวกล้างมือด้วยสบู่ สามารถใช้แอลกอฮอล์เจลได้
  • ผู้สูงอายุเมื่อกลับถึงบ้านควรอาบน้ำสระผมทำความสะอาดร่างกายและของใช้ที่ติดตัวกลับมาจากนอกบ้าน เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที
  • งดการไปรวมกลุ่ม ร่วมกิจกรรม หรือไปที่สาธารณะที่มีคนอยู่รวมกันเยอะๆ
  • หากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวที่ต้องไปพบแพทย์ตามนัด หรือต้องไปโรงพยาบาลเป็นประจำ
    ในกรณีที่อาการคงที่ และผลการตรวจล่าสุดปกติ ลองสอบถามแพทย์ประจำตัวดูว่ามีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ด้วยตัวเองหรือไม่ สามารถสั่งจ่ายยาออนไลน์โดยส่งยามาให้ที่บ้าน หรือให้ผู้ป่วยรับยาได้เองที่ร้านขายยาใกล้บ้านได้หรือไม่
    ในกรณีที่อาการแย่ลง หรือ ผลการตรวจล่าสุดผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเพื่อนัดหมายไปตรวจด้วยช่องทางที่ปลอดภัยที่สุด โดยให้ผู้สูงอายุสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่อกลับถึงบ้านให้ทำความสะอาดร่างกายทันที รวมไปถึงทำความสะอาดของใช้ที่ติดตัวกลับมาจากนอกบ้านด้วย

ผู้ดูแลหลัก

  • ควรมีผู้ดูแลหลักคนเดียว โดยเลือกคนที่สามารถอยู่บ้านได้มาก และไม่มีความจำเป็นที่จะออกนอกบ้าน แต่สามารถสลับสับเปลี่ยนผู้ดูแลหลักได้แต่ไม่ควรเปลี่ยนบ่อย และต้องแน่ใจว่าผู้จะมาเป็นผู้ดูแลหลักคนใหม่ต้องไม่ใช่ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ
  • หากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ให้หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะและการไปในที่แออัด และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง พร้อมทำความสะอาดมือบ่อยๆ
  • หากคุณมีความเสี่ยงติดเชื้อ ควรออกห่างจากผู้สูงอายุ และเปลี่ยนผู้ดูแลทันที

สำหรับคนในครอบครัวที่ไปทำงานนอกบ้านต้องเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดเพื่อป้องกันการติดและนำเชื้อเข้าบ้าน รวมทั้งควรอาบน้ำเมื่อกลับถึงบ้านหรือก่อนเข้าหาผู้สูงอายุ และหากเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรสังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้ ไอจาม ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และควรแยกตัวเองเพื่อสังเกตอาการ

 

ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจาก โควิด-19

นอกจากการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่สู่ผู้สูงอายุแล้ว การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในช่วงนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดการถดถอยของร่างกาย สมอง และ เกิดความเครียดระหว่างที่ผู้สูงอายุต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน ดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะปรุงสุกใหม่ๆ ไม่รับประทานอาหารที่หวานหรือเค็มเกินไป เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงเสริมภูมิคุ้มกัน และควรให้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายและสมอง
  2. ให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ เช่น การเดิน หรือแกว่งแขนออกกำลังกายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 - 60 นาที หรือเท่าที่ทำได้
  3. หากิจกรรมทำแก้เครียด โดยเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชื่นชอบ มีความถนัด เช่น ทำอาหาร เล่นดนตรี วาดรูป อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น พร้อมทั้งหยุดรับข่าวสารที่มากเกินไป โดยจำกัดการติดตามข้อมูลประมาณวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็นหรือตอนกลางคืน เพื่อป้องกันภาวะวิตกกังวลจากการรับข่าวสารมากเกินไปจนเกิดการวิตกกังวลได้

นอกจากดูแลผู้สูงอายุ ตัวเองและคนรอบข้างด้านสุขอนามัยแล้ว การดูแลกันด้านจิตใจเป็นสิ่งที่ควรทำไม่แพ้กัน ควรส่งพลังบวก แชร์เรื่องดีๆ และให้กำลังใจกันเสมอ เมื่อมีกำลังใจดี สุขภาพก็จะดีตามไปด้วย


ขอขอบคุณ : https://www.nakornthon.com/article/detail/