พม. โดย กรม ผส. ร่วมงานงานเสวนาและแถลงข่าว “ผู้สูงอายุ (จะ) อยู่อย่างไรในยุคเฟคนิวส์”
พม. โดย กรม ผส. ร่วมงานงานเสวนาและแถลงข่าว “ผู้สูงอายุ (จะ) อยู่อย่างไรในยุคเฟคนิวส์”
วันศุกร์ ที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ Siam@Siam Desing Hotel Bangkok นางสาวชวนชม จันทะวงษ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ มอบหมายให้ นางสาวอาภา รัตนพิทักษ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ร่วมงานงานเสวนาและแถลงข่าว “ผู้สูงอายุ (จะ) อยู่อย่างไรในยุคเฟคนิวส์” โดยการสนับสนุนทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำรวจสถานการณ์ และผลกระทบจากการใช้สื่อต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของผู้สูงอายุไทย ในปี 2565 พบว่า การเปิดรับสื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจชีวิต ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่ามากขึ้น ในขณะที่สื่อไม่มีส่วนช่วย
เพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์ฯ กล่าวว่า การสำรวจสถานการณ์และผลกระทบจากการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทยปี 2565 เป็นการสำรวจเป็นปีที่ 2 เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ 2,000 คน เป็นชาย 945 คน (47.3%) และหญิง 1,055 คน (52.70%) จาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีข้อค้นพบด้านสถานการณ์การใช้สื่อที่น่าสนใจ 2 ประการ คือ ประการแรก ผู้สูงอายุถึง 50.80% เปิดรับสื่อมากกว่าวันละ 4
ชั่วโมง และ 31.50% ใช้สื่อวันละ 3-4 ชั่วโมง โดยเปิดรับสื่อบุคคลมากที่สุดเป็นอันดับแรก อันดับที่ 2 คือ โทรทัศน์ และอันดับที่ 3 คือ สื่อออนไลน์ นอกจากนี้ สื่อที่เปิดรับมากที่สุดเป็นอันดับแรกเปลี่ยนจากโทรทัศน์
(ปี 2564) มาเป็นสื่อบุคคล ประการที่สอง ประเด็นที่ผู้สูงอายุไทยสนใจเปิดรับจากสื่อมากที่สุดยังคงเป็น ข่าวบันเทิง สุขภาพ ธรรมะ/ศาสนา การเมือง และอาหาร ตามลำดับ เช่นเดียวกับผลสำรวจในปี 2564 แต่เป็นที่
น่าสังเกตว่า ผู้สูงไทยใช้เวลาเปิดรับสื่อในแต่ละวันน้อยลงกว่าปี 2564 ทุกประเภทสื่อ โดยเฉพาะการรับชมโทรทัศน์ จากเดิมรับชมวันละมากกว่า 4 ชั่วโมง แต่ในปี 2565 ลดลง เหลือวันละ 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น สื่อบุคคล สื่อออนไลน์ ก็มีค่าเฉลี่ยการเปิดสื่อที่ลดลงเช่นเดียวกัน