- ข้อมูลผู้สูงอายุทั่วไป
- สถิติผู้สูงอายุ ธันวาคม 2566
- อัตราส่วนการเป็นภาระวัยสูงอายุ และ อ้ตราส่วนการเป็นภาระ ของ ประชากรไทย ปี พ.ศ.2565 ระดับ จังหวัด เขต/อำเภอ ตำบลรวบรวมจากข้อมูลของกรมการปกครอง
- สถิติผู้สูงอายุ กันยายน 2567
- ผู้พิการ
- ผู้สูงอายุได้รับการประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิต(ADL)
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
- ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยในตามกลุ่มสาเหตุการป่วย
- ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยใน ตามกลุ่มสาเหตุการป่วยจากสาเหตุภายนอก
- ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยใน ตามการวินิจฉัยโรคหลัก
- ข้อมูลผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ
- จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง/ดูแลกันเอง
- จำนวนผู้สูงอายุ จำแนกตามการหกล้ม
- จำนวนผู้สูงอายุจำแนกตามประเภทส้วมที่ใช้
- ผู้มีสิทธิรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดแยกรายจังหวัด
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2555 (Thai & Eng Version)
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ.2558
- Situation Of The thai elderly 2016
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2547
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2548
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2549
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2552
- สถานการณ์ผู้สูงอายุ ปี 2553
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2554
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2557 (Thai & Eng Version)
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2554
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2553
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2552
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2551
- สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2550
สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2552
ในปี พ.ศ.2552 นี้เป็นปีที่รัฐบาลเริ่มดำเนินการนโยบายเบี้ยยังชีพอย่างถ้วนหน้า (ยกเว้นผู้สูงอายุที่ได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ) แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มาแสดงความจำนงขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ จำนวน 500 บาทต่อเดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา ส่งผลให้จากเดิมที่มีผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพในปี พ.ศ.2552 จำนวน 1,828,456 คน ได้เพิ่มเป็นจำนวน 5,652,893 คนที่ได้รับเบี้ยยังชีพหรือคิดเป็นประมาณกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้สูงอายุทั่วประเทศไทย แม้ว่าหลักการคือการสร้างหลักประกันขั้นพื้นฐาน
ในทางปฏิบัติยังมี ปัญหาที่ผู้สูงอายุบางส่วนยังไม่ได้รับ และในระยะยาวยังไม่มีหลักประกันว่ามาตรการนี้จะยังคงอยู่อย่าง ยั่งยืน แม้ว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติ ผ่าน 3 วาระให้ปรับปรุงแก้ไขพรบ.ผู้สูงอายุ 2546 ให้การจ่ายเบี้ยยังชีพเป็นสิทธิ์ที่ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทุกคน แต่ก็ยังติดค้างอยู่ที่ กระบวนการทางรัฐสภาที่ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลเร่งรัดกระบวนการพิจารณาในขั้นรัฐสภาทั้งสองและประกาศใช้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
นอกจากนี้ควรผลักดันให้มีระบบหลักประกันสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากลำบาก ขาดที่พึ่ง ให้มีรายได้เพียงพอกับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานนอกจากเบี้ยยังชีพที่ยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตให้
มีคุณภาพ