อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นประธานเปิดการสัมมนาและกล่าวปาฐกถาพิเศษ สังคมสูงวัยกับภาพอนาคต มุ่งหวังเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพที่ดี (Healthy) มีหลักประกันและความปลอดภัยในชีวิต (Security)

อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นประธานเปิดการสัมมนาและกล่าวปาฐกถาพิเศษ สังคมสูงวัยกับภาพอนาคต    มุ่งหวังเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพที่ดี (Healthy) มีหลักประกันและความปลอดภัยในชีวิต (Security)
วันที่ 8 ส.ค. 2561 | ผู้เข้าชม 2,960 ครั้ง

อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นประธานเปิดการสัมมนาและกล่าวปาฐกถาพิเศษ สังคมสูงวัยกับภาพอนาคต    มุ่งหวังเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพที่ดี (Healthy) มีหลักประกันและความปลอดภัยในชีวิต (Security)

และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม (Participation)

 วันที่ 8 สิงหาคม 2561 เวลา 08.30 น. ณ ห้อง Grand Ballroom ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอเคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ  อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (นางธนาภรณ์ พรมสุรรณ) เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาภายใต้แนวคิด “Active and Productive Ageing : ความท้าทายที่ไทยต้องไปให้ถึง” พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ “สังคมสูงวัยกับภาพอนาคต” วัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหาร นักวิชาการ และภาคีเครือข่ายประชาชน ในการนำผลงานวิจัยทั้ง 3 ด้านไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย 1) ด้านการเสริมสร้างสภาพและคุณค่าในสังคมสูงอายุด้วยการเสริมสร้างสถานภาพและคุณค่าในสังคมสูงอายุ ด้วยการสร้างความกระปรี้กระเปร่าแก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม 2) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะของผู้สูงอายุ เพื่อมุ่งสู่ Healthy Ageing and Active Ageing เพื่อดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการดำรงชีวิตอย่างอิสระในชุมชนและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ 3) ด้านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาครัฐเพื่อรองรับสังคมสูงวัย

 ปัจจุบัน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 และจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุระดับสมบูรณ์ในปี 2564 และในปี 2574 ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างประชากรของประเทศไทย คือ อัตราการเกิดน้อยลง ผู้สูงอายุไทยมีอายุยืนยาวขึ้น จึงทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุในทุกระดับด้วยระยะเวลาโดยก้าวสู่สังคมสูงอายุเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่น และสิงคโปร์ และเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุในมิติต่างๆ ซึ่งพบว่า มีผู้สูงอายุมากกว่า 1 ใน 4 (28.2%) ที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน (ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี) และแหล่งรายได้ที่มาจากบุตรลดลง ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น มีแนวโน้มอยู่ตามลำพังเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 6.3 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 8.7 ในปี 2557 และร้อยละ 10.8 ในปี 2560 ตามลำดับ และผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ต้องการคนดูแลถึงร้อยละ 24 จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดประเด็นท้าทายในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย ดังนี้ 1) ขาดแคลนวัยแรงงาน 2) รายได้ของวัยแรงงานไม่สามารถชดเชยการบริโภคของวัยเด็กและวัยสูงอายุ 3) ภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและงบประมาณในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมาขึ้น 4) ระบบบริการและโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ 5) ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น 6) ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 90 ทำงานนอกระบบส่วนใหญ่ไม่มีหลักประกันรายได้ 7) การเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างชาติ รัฐบาลจึงมีนโยบายและมาตรการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงวัยที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11 การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ พื้นที่ดำเนินการทั่วประเทศ กลไกสำคัญเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำผู้สูงอายุ และชมรมผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ ให้ผู้สูงอายุมีพื้นที่ทำกิจกรรม พึ่งพาตนเอง ช่วยลดภาระการกลายเป็นผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง และลดภาระการดูแลผู้สูงอายุของครอบครัวด้วย

ทั้งนี้ เพื่อให้มีการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนไปในทิศทางเดียวกัน จึงต้องมีการขับเคลื่อนสังคมสูงอายุเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ปลดล๊อค ขันน๊อต 4 Change 6 Sustainable คือ 4 Chang ประกอบด้วย  C1 กำหนดให้สังคมสูงอายุเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ  C2 การปรับเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติข้อบังคับ ให้เอื้อต่อการทำงานด้านผู้สูงอายุ  C3 ข้อมูลเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ C4 นวัตกรรมเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ 6 Sustainable ประกอบด้วย S1 การสร้างระบบคุ้มครอง และสวัสดิการผู้สูงอายุ S2 การทำงานและการสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุ S3 ระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงวัย S4 ปรับสภาพแวดล้อมชุมชน และบ้านให้ปลอดภัยกับผู้สูงอายุ S5 ธนาคารเวลา (สะสมเวลาเพื่อการสูงอายุ และ S6 การสร้างความรอบรู้ให้คนรุ่นใหม่เตรียมความพร้อมในทุกมิติ เป็นการบูรณาการในภาพรวมของประเทศ มีกลไกในการขับเคลื่อนงานตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับ และระดับพื้นที่ การบูรณาการเพื่อให้เกิดความร่วมมือและขับเคลื่อนงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี (Healthy) มีหลักประกันและความปลอดภัยในชีวิต (Security) และ     มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม (Participation) รวมทั้งเป็นอีกหนึ่งพลังในการขับเคลื่อนประเทศ ต่อไป