การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในอาเซียน

การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในอาเซียน
วันที่ 25 มี.ค. 2564 | ผู้เข้าชม 2,361 ครั้ง | โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์/กลุ่มอำนวยการอธิบดี

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น. นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ มอบหมายให้ นางอภิญญา ชมภูมาศ รองอธิบดีฯ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในอาเซียน โดยมี นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในการประชุม นางณัฐสุรีย์ อนุศาสนัน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายชินชัย ชี้เจริญ กรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน (Senior Officials Meetings on Social Welfare and Development : SOMSWD Leader) พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่ม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมกิจการผู้สูงอายุ ผู้แทนจากภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ณ ห้องกมลฤดี ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยผู้แทนจากประเทศอาเซียน (AMS) ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทุกจังหวัด และสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 11 เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference)

       การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ รับฟังความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน (SOMSWD Leader) ต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบการจัดสวัสดิการสังคมและกฎหมายด้านการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ให้ถูกต้องตามบริบทของแต่ละประเทศ ก่อนจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเผยแพร่และนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานต่อ “การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ครั้งที่ 17 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง” (The 17th ASEAN Senior Officials Meeting on Social Welfare and Development and Related Meetings) ตลอดจนตรวจสอบผลการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะที่ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพของกฎหมายสวัสดิการสังคมของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้