พม- โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ประสานความห่วงใยในการดูแล ผู้สูงอายุ จากสถานการณ์ COVID-19

พม- โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ประสานความห่วงใยในการดูแล ผู้สูงอายุ จากสถานการณ์ COVID-19
วันที่ 7 ส.ค. 2564 | ผู้เข้าชม 2,141 ครั้ง | โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์/กลุ่มอำนวยการอธิบดี

      พม- โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ประสานความห่วงใยในการดูแล ผู้สูงอายุ จากสถานการณ์ COVID-19  
       จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีความรุนแรง ในปัจจุบัน ผู้สูงอายุ ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และมีโอกาสสูงที่อาการจะรุนแรงอย่างรวดเร็ว  ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมเพิ่มขึ้น และมียอดผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก

  กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง พม มีความห่วงใย และให้การประสานงานติดตามการดูแลช่วยเหลือ ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ตาม ภารกิจ ศูนย์ปฏิบัติการฯ ของกระทรวง อย่างต่อเนื่อง   
รวมถึง ดำเนิน”โครงการโทรหาเพราะห่วงใย” โดยโทรศัพท์ ติดต่อไปยัง ผู้สูงอายุซึ่งเคยประสบปัญหา และได้ขอรับการดูแลจากกรม เพื่อติดตามผลกระทบ จาก COVID-19 พร้อมส่งความห่วงใย กำลังใจ และร่วมหาทางช่วยเหลือกรณีประสบปัญหา โดยสามารถ ติดต่อ สร้างกำลังใจ และให้การติดตามช่วยเหลือ ได้มากกว่า 4,000 ราย  นอกจากนี้ยังได้ โทรหา เพราะห่วงใย ไปยัง สถานดูแลผู้สูงอายุต่างๆ เพื่อประสานข้อมูลการดูแลผู้สูงอายุภายในสถานดูแล  และ ติดตามข่วยเหลือ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน จากสถานการณ์COVID-19 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

      อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์) เล็งเห็นถึงสถานการณ์ Covid-19 ที่ยังคงมีความต่อเนื่อง และ จำเป็นที่ผู้สูงอายุ ยังคงต้องเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม รวดเร็ว ถึงแม้ทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญ และผู้สูงอายุถือเป็น 1 ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเข้มข้นอยู่แล้วก็ตาม  ดังนั้น อธิบดี ผส จึงได้ประสานไปยังทุกจังหวัด และ ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อประสานไปยังสาขาสภาฯ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ส่งผ่านความห่วงใย กำลังใจ และข้อมูลการปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ ในการดูแลผู้สูงอายุ 
พร้อมกำชับ หน่วยงานในสังกัดคือ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 12 แห่ง ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิดและเตรียมแผนรับมือในกรณีฉุกเฉิน โดยให้เตรียมการ และทบทวนแผนเผชิญเหตุให้มีความพร้อม ทั้งด้านบุคลากร ทรัพยากร และเครือข่าย ในพื้นที่ โดยการให้ความรู้ในการดูแลและป้องกันตนเอง มาตราการเยียวยาต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงวัคซีน การเตรียมความพร้อมในการจัดการดูแลแบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) ในกรณีเผชิญเหตุฉุกเฉิน และการประสานเครือข่าย / สถานพยาบาลกรณีจำเป็นต้องทำการรักษาเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความปลอดภัยสูงสุด

คลังภาพ