คู่มือพัฒนาและการส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของกรมกิจการผู้สูงอายุ

คู่มือพัฒนาและการส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของกรมกิจการผู้สูงอายุ
วันที่ 4 ธ.ค. 2563 | ผู้เข้าชม 4,620 ครั้ง
การมีผลประโยชน์ทับซ้อน ถือเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นประเภทหนึ่ง เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ส่วนบุคคลโดยการละเมิดต่อกฎหมาย หรือจริยธรรม ด้วยการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ไปแทรกแซงการใช้ ดุลพินิจในกระบวนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนทำให้เกิดการละทิ้ง คุณธรรมในการปฏิบัติหน้าท่สี าธารณะ ขาดความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง และความเป็นธรรม จนส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะของส่วนรวม และทำให้ผลประโยชน์หลักขององค์กร หน่วยงาน สถาบัน และสังคม ต้องสูญเสียไป โดยผลประโยชน์ที่สูญเสียไปอาจอยู่ในรูปของผลประโยชน์ ทางการเงิน คุณภาพให้บริการ ความเป็นธรรมในสังคม รวมถึงคุณค่าอื่นๆ ตลอดจนโอกาสในอนาคต ตั้งแต่ระดับองค์กรจนถึงระดับสังคม ตัวอย่าง เช่น การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจาก ผู้ประกอบการเพื่อแลกเปลี่ยนกับการอนุมัติ การออกใบอนุญาตประกอบ กิจการใดๆ หรือแลกเปลี่ยนกับการละเว้น การยกเว้น หรือการจัดการ ประมูลทรัพย์สินของรัฐเพื่อประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและพวกพ้อง ฯลฯ เป็นต้น
ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of interests : COI) เป็นประเด็น ปัญหาทางการบริหารภาครัฐในปัจจุบันที่เป็นบ่อเกิดของปัญหาการทุจริต ประพฤติมิชอบในระดับที่รุนแรงขึ้น และยังสะท้อนปัญหาการขาดหลัก ธรรมาภิบาลและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ