เทคโนโลยีในอนาคตสำหรับดูแลผู้สูงอายุ

เทคโนโลยีในอนาคตสำหรับดูแลผู้สูงอายุ
วันที่ 18 ม.ค. 2564 | ผู้เข้าชม 28,034 ครั้ง | โดย กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (ทนส.กยผ.)

เทคโนโลยีในอนาคตสำหรับดูแลผู้สูงอายุ

ปกเทคโนโลยี.jpg

ในปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรของประเทศไทยลดจำนวนลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตก็น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน เรียกได้ว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุ’ อย่างเต็มตัว แน่นอนว่าการเตรียมการรับมือเรื่องดูแลผู้สูงอายุอาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป จึงทำให้หลายภาคส่วนได้ออกแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น วันนี้ DoCare Protect ขอรวบรวมเทคโนโลยีในอนาคตสำหรับดูแลผู้สูงอายุมานำเสนอเป็นทางเลือก ดังนี้

Screen Shot 2563-05-12 at 22.52.21.png

1. หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
สำหรับหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุนั้น มีด้วยกันในหลายลักษณะเช่น หุ่นยนต์สำหรับอุ้ม หุ่นยนต์เพื่อการสร้างความบันเทิง หรือหุ่นยนต์สำหรับแจ้งเตือนเวลาการรับประทานยาหรือเตือนเวลาพบแพทย์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการใช้งานที่แพร่หลาย เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง แต่ในอนาคตหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุจะเข้าถึงการใช้งานได้ง่ายขึ้น 

Screen Shot 2563-05-12 at 22.52.26.png

2. เหรียญ QR code เพื่อช่วยผู้สูงอายุกลับบ้าน  
เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอาการของโรคอัลไซเมอร์
เวลาออกนอกบ้านก็อาจจะไม่สามารถจำทางกลับบ้านได้ ด้วยปัญหานี้ประเทศจีนจึงได้นำเทคโนโลยีที่เรียกว่า QR code มาฝังข้อมูลของผู้สูงอายุลงไปในเหรียญ เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นสามารถยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมาสแกน แล้วพาผู้สูงอายุที่อาจจะหลงลืมทางกลับบ้าน สามารถถูกส่งกลับบ้านได้ถูก 

Screen Shot 2563-05-12 at 22.52.34.png

3. เยลลี่สำหรับผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาการกลืนอาหาร

ตัวเยลลี่นี้เป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้สูงอายุกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
โดยส่วนผสมทำมาจากสารสกัดจากใบแปะก๊วย ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น มีแคลเซียมและโอเมก้า 3 ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ได์ และมีพรีไบโอติกไฟเบอร์ ช่วยกระตุ้นเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี โดยเยลลี่มีลักษณะเนื้อนุ่มลื่น กลืนง่าย ซึ่งผู้สูงอายุสามารถใช้ลิ้นดุนให้แตกเพื่อการบริโภค จึงทำให้ลดโอกาสการสำลักอาหารได้

Screen Shot 2563-05-12 at 22.52.39.png

4. เครื่องพยุงตัวเวลานั่งชักโครก

เครื่องพยุงตัวเวลานั่งชักโครกนี้เป็นนวัตกรรมป้องกันการล้มในห้องน้ำ
ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือผู้สูงอายุที่ลุกนั่งลำบากเนื่องจากข้อต่อต่างๆ โดยเครื่องนี้จะช่วยพยุงสะโพกผู้สูงอายุขึ้นลงทั้งก่อนใช้และหลังใช้ชักโครก สามารถติดตั้งกับชักโครกที่ใช้กันทั่วไปในห้องน้ำตามบ้านโดยไม่ต้องขุดเจาะใดๆ

GOLIVECLIP-56345.png

5. เข็มกลัดอัจฉริยะตรวจจับการลื่นล้มอัตโนมัติ

เข็มกลัดอัจฉริยะเป็นเทคโนโลยีเพื่อการดูแลผู้สูงอายุทั้งภายในและภายนอกบ้าน
เรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ เหมาะกับผู้สูงอายุที่ใช้โทรศัพท์และยังทำกิจวัตรนอกบ้านเป็นประจำ โดยเข็มกลัดอัจริยะนี้สามารถตรวจจับการล้มได้อย่างแม่นยำถึง 93% สามารถประเมินค่าเคลื่อนไหวต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน โดยมีปุ่มขอความช่วยเหลือ SOS ส่งสัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ
ถึงผู้ติดต่อที่บันทึกไว้ในกรณีฉุกเฉินทันที ระบบจะทำการส่งข้อความและอีเมล เมื่อเกิดเหตุซึ่งจะบอกตำแหน่งของผู้สูงอายุที่กำลังขอความช่วยเหลือผ่านระบบ GPS

DSCF3078.jpg

6. ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะเพื่อการขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน

เทคโนโลยีระบบเซนเซอร์อัจฉริยะเพื่อการขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่อการล้ม เช่น ภายในห้องน้ำ ซึ่งระบบนี้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือและไม่ต้องการพกพาอุปกรณ์ติดตัวใดๆอยู่ตลอดเวลา เมื่อผู้สูงอายุต้องการขอความช่วยเหลือ เช่น กรณีที่มีการลื่นล้ม ผู้สูงอายุสามารถกด ปุ่มจากอุปกรณ์ที่ติดอยู่ในบริเวณบ้าน จากนั้นเครื่องจะส่งสัญญาณไปยังแอพพลิเคชันมือถือของลูกหลานที่บันทึกเพื่อขอความช่วยเหลือทันที 

Screen Shot 2563-05-12 at 22.52.49.png

7. แอปพลิเคชันสำหรับดูแลผู้สูงอายุ

แอพพิเคชัน Golive ทำงานเชื่อมต่อกันกับเข็มกลัดอัจริยะตรวจจับการลื่นล้ม เป็นตัวส่งข้อความขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะทำการส่งข้อความไปยังผู้ติดต่อฉุกเฉินทันที เมื่อมีคนใดคนหนึ่งตอบรับ ระบบปฏิบัติการบนมือถือจะทำการเชื่อมต่อและพูดคุยได้ทันทีโดยที่ โดยผู้สูงอายุที่เ็นผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องกดรับโทรศัพท์ นอกจากแอพพิเคชันนี้จะเป็นตัวกลางมนการสื่อสารแล้ว ยังช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงการลื่นล้มโดยดูจากการเดินของร่างกายได้อีกด้วย
 

เห็นได้ว่ามีเทคโนโลยีที่ใส่ใจผู้สูงอายุมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้สูงอายุเองสบายใจในการใช้ชีวิตและลูกหลานเองก็อุ่นใจมากขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงจึงจะสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขและมีอายุยืนนานได้