พาดูเทคโนโลยีของญี่ปุ่น Tokyo H.C.R
พาดูเทคโนโลยีของญี่ปุ่น Tokyo H.C.R
โดย นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ · 1 เมษายน 2017
วันนี้ขอติดงานที่ค้างมานานครับ ผมจะพาทุกท่านไปชมงาน Tokyo H.C.R 2016 ซึ่งจัดในเดือนตุลาคม 2016 ปีที่ผ่านมา งานนี้ถือว่าเป็นงาน Expo เกี่ยวกับนวัตกรรมผู้สูงอายุและผู้พิการ ( Home Care & Rehablitation) ที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของญี่ปุ่น เรียกได้ว่าถ้าใครมีของก็ต้องเอามาปล่อยกันที่งานนี้
Tokyo Big Sight สถานที่จัดงาน
งานจะจัดทั้งหมด 3 วัน ในปีที่ผ่านมามีคนเข้าร่วมงานทั้งหมด 112,750 คน โดยมีคนไทยมาทั้งหมด 229 คนครับ จากคนต่างประเทศทั้งหมด 2,000 คน (อันดับก่อนหน้าเราคือ Taiwan(546), Korea(465) and China(433) )
บรรยากาศภายในงาน Japan Home care & Rehabilitation
คนที่มาส่วนใหญ่ก็เป็นคนทั่วไป ที่ผมเห็นก็เป็นประชาชนทั่วไป มีทั้งผู้สูงอายุ หรือ ผู้พิการที่มาหา solution ใหม่ๆให้กับตัวเอง นอกจากนั้นก็เป็นพวก Distributers ที่มามองหาสินค้าเพื่อนำไปขายต่อ เท่าที่ผมสังเกตุคนไทยที่มาก็ตั้งใจมามองหา solution ที่น่าสนใจ เพื่อนำเข้ามาในประเทศเราเช่นกัน
**คำแนะนำ: สำหรับคนที่สนใจเดินทางไปปีหน้าคือ ควรจ้างล่ามญี่ปุ่น หรือมีเพื่อนที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้ไปด้วย เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
สำหรับสถิติสัดส่วนผู้เข้าร่วมงานจะเป็นไปประมาณนี้ครับ
งานมีขนาดใหญ่มากครับ จัดที่ Tokyo Big-sight มีผู้มาร่วมแสดงสินค้าถึง 527 ราย
งานแบ่งออกเป็น 6 โซน ตามรูปนี้ครับ ผมคิดว่าถ้าจะให้ดีน่าจะมีเวลาเดินซัก 2 วันน่าจะกำลังดี
งานมีทั้งหมด 6 โซน เดินกันจนเมื่อยน่องกันเลยทีเดียว
ผมเองจะขอนำเสนอเฉพาะนวัตกรรมที่ผมคิดว่าน่าสนใจจากในงานนะครับ ซึ่งอันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและเลือกเฉพาะสิ่งทีตัวเองได้เดินไปเจอเองเป็นหลัก (คิดว่าน่าจะพลาดไปหลายอันอยู่ครับ)
Home modification (การปรับบ้านสำหรับผู้สูงอายุ)
ตลาดการปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยยังเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ สังคมญี่ปุ่นก็คล้ายเมืองไทย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะอยู่ที่บ้านเป็นหลัก เทรนที่เราอาจเริ่มเห็นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้
Digital mirror
Digital mirror – กระจกอัจฉริยะช่วยเรื่องการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ คล้ายๆเกม Wii ของ Nintendo หรือ Kinect ของ X-box
การ demonstate ให้ดูว่าเวลาผู้สูงอายุใช้จริงๆเป็นอย่างไร
อันนี้เป็นบูทของ Panasonic ที่โชว์ว่าจะเอาพวก Technology ต่างๆเข้ามา implement ในบ้านได้อย่างไร
Home elevator : ลิฟท์ในบ้าน
การขึ้นลงบันไดถือเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้สูงอายุ และผู้พิการ การติดลิฟท์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่หลายคนสนใจ เพราะผู้สูงอายุบางท่านก็ไม่อยากย้ายลงมานอนชั้นล่าง เนื่องจากการย้ายทำให้รู้สึกว่าสถานะของตัวเองเปลี่ยนแปลง หรือ คนไข้ผู้สูงอายุหลายๆคนของผมก็เลือกที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในคอนโดแทน (อันนี้ผมคิดว่าผู้ประกอบการคอนโดอาจนำไปใช้เป็นจุดขายได้นะครับ ^^ )
การติดลิฟท์สำเร็จรูปในบ้าน
การติดเสาในบ้าน
อันนี้ในเมืองไทยผมไม่ค่อยคุ้นกับ Solution นี้เท่าไหร่ มันคือเสาสำเร็จรูปที่สามารถติดตั้งได้เลยไม่ต้องจ้างช่างมา ใช้หลักการยืดแล้วยึดระหว่างพื้นกับเพดาน
สามารถติดในห้องน้ำได้ด้วย เพราะจริงๆน่าจะเป็นบริเวณที่มีคนหกล้มบ่อยที่สุดแล้ว
Bathing
อันนี้จะคล้ายๆเครื่องล้างรถ คือเมื่อเราเข็นผู้สูงอายุเข้าไป มันจะทำการล้างให้อัตโนมัติ
นวัตกรรมเรื่องการอาบน้ำก็เป็นตลาดที่ดูใหญ่มาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนญี่ปุ่นน่าจะจริงจังกับการอาบน้ำ
Home Sensor
ก่อนจะก้าวไปสู่ Smarthome ในยุค IoT แบบของทุกชิ้นคุยกันผ่านกันได้ เทคโนโลยีที่ใช้ sensor detect แบบดั้งเดิมคงจะอยู่ในตลาดไปอีกซักพัก
Toilet (ห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ)
ตลาดอุปกรณ์การเข้าห้องน้ำถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และปัญหาเรื่องการเข้าห้องน้ำ ขับถ่าย ถือว่าเป็นสถาวะการเปลี่ยนแปลงที่รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอันดับต้นๆ
การติด Sensor ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปรับบ้านที่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก
โถส้วมสำเร็จรูป
เป็นส้วมสำเร็จรูป ที่เก็บกลิ่น มีเครื่องฉีดล้างก้น สามารถตั้งไว้ข้างเตียงนอนได้เลย
ทีเด็ดคือมีที่ฉีดก้นนี่แหละครับ
ปัญหาเรื่องการหกล้มที่เจอบ่อยที่สุดอันหนึ่งคือ การล้มจากการลุกขึ้นไปเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนของผู้สูงอายุ ซึ่งแม้มีคนนอนอยู่ด้วย ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุก็มักจะเกรงใจไม่กล้าเรียก แอบเดินไปเข้าเอง และมักจะหกล้มในตอนถอดกางเกง หรือ ลุกขึ้นนั่งโถนี่แหละครับ
อันนี้แบบไม่ล้ำมาก เป็นใช้ถุงเปลี่ยนเอา แต่สิ่งที่ทุกคนพยายามทำคือการปรับ design ให้เหมือนหนึ่งใน Furniture ในบ้าน ไม่ได้ดูเป็นอุปกรณ์ของโรงพยาบาล
Super Diaper
อันนี้ผมตั้งชื่อเองนะครับ แต่มันคือผ้าอ้อมที่ใส่แล้วสามารถถ่ายอุจจาระและปัสสวะ ได้เลยโดยเครื่องมันจะดูดออกไปทำความสะอาด และ มีเครื่องทำให้แห้งตลอด ไม่ต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยน ตอนกลางคืนแต่อย่างใด
ตัวอย่างโฆษณาเป็นการ์ตูนตามสไตล์ชาวญี่ปุ่น น่ารักดีครับ
ที่เก็บปัสสวะแบบพกพา สำหรับคนที่ไม่อยากใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป อันนี้ผมรู้สึกว่ามันล้ำมากเลยทีเดียว
การปรับทางเดิน
เราอาจได้ยินคำว่า Universal design กันบ่อยๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน ซึ่งการที่ต้องคิดถึงเรื่องการใช้รถเข็นถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ
ทางลาดสำเร็จรูป ไม่ต้องมาให้ช่างเทปูน
Wheel chair
มีวีลแชร์จากบริษัท Startup ชื่อ Whill ครับผมคิดว่าน่าสนใจมาก เป็นวีลแชร์แบบ 4WD สะเทินน้ำสะเทินบก แบบบังคับได้ง่าย เป็นบูธที่มีคนสนใจเข้าไปทดลองเล่นเยอะมาก
Mobility
ตลาดอุปกรณ์ปรับปรุงรถ เพื่อออกแบบให้ใช้กับรถเข็น เป็นโซนที่ใหญ่มาก แต่ละเจ้ามากันแบบจัดเต็ม
Robot
จริงๆตอนที่ผมมางานนี้ สิ่งที่อยากเห็นมากที่สุดคือนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ เพราะผมเชื่อว่ามันจะต้องเป็นส่วนที่มีบทบาทมากในอนาคต แต่พบว่าหุ่นยนต์ไม่ได้มีของใหม่มากกว่าที่เราเคยเห็นในทีวี
Pepper : Humanoid robot
หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้สามารถตอบสนองกับคนได้ มองตาม ทำสีหน้าต่างๆ เป็นการร่วมลงทุนของ Softbank
Pepper ถือเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกที่ได้เข้าไปอยู่ในบ้านของคนญี่ปุ่น
เท่าที่ผมลองไปเล่นกับ Pepper ดูยังพบว่า Function ยังค่อนข้างเรียบๆไม่หวือหวามาก มองตาม พูดทักทาย แต่ผมเห็นภาพว่าในอนาคตอันใกล้ มันจะถูกพัฒนาต่อไปอีกได้ไกล แบบหนังเรื่อง irobot แน่ๆเลย (ถึงเวลานั้นอาจต้องมาลุ้นว่าโลกเราจะถูกยึดครองด้วยหุ่นยนต์หรือไม่ )
ราคา Pepper ตอนนี้อยู่ที่ 198,000 เยน หรือประมาณ 61,000 บาท เท่านั้นเอง ! ( ใครเหงาๆอยากได้เพื่อนไหมก็ถอยมาซักตัวได้นะครับ)
Paro : Therapeutic Robot
สำหรับ Paro นั้นเป็น Therapeutic Robot ไว้ให้คนสูงอายุไม่รู้สึกเหงา สามารถลูบคลำ หวีขนได้ ตัว Paro เองก็จะตอบสนองเวลาที่เราลูบมันด้วย ผมคิดว่าน่าจะเป็นการต่อยอดมาจาก Pet therapy ที่มีวิจัยว่าสัตว์เลี้ยงจะทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
ผมไปลองหาราคาของ Paro มาพบว่ามูลค่า 5,000 USD หรือประมาณ 170,000 บาท ซึ่งก็รู้สึกว่าทำไมแพงจัง ซึ่งผมดูแล้วคิดว่า Pepper ดูน่าจะแพงกว่าเสียอีก
หุ่นยนต์ของ Fujitsu อันนี้ใช้สำหรับเรื่องความปลอดภัย แจ้งเตือนว่ามีใครเข้า หรือ ออกจากอาคารบ้าง
Exoskeleton
อันนี้น่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ผมรู้สึกว้าว ! ที่สุดในงาน Exoskeleton เป็นอุปกรณ์ที่มาใส่แล้วช่วยให้เรายกของหนักๆได้ง่ายขึ้น พอใส่ชุดแล้วรู้สีกคล้ายๆ Iron man
Exoskeleton เมื่อติดแล้ว เราก็สามารถยกของหนักๆได้เลย
Exoskeleton แบบ concept ดีไซน์ล้ำๆ
ส่วนหนึ่งที่ทำให้งานนี้น่าสนใจคือ เราสามารถลองเล่นของต่างๆได้เลย
ในงานพบว่ามีหลายบริษัทที่ทำ Exoskeleton เท่าที่ดูตอนนี้น่าจะยังไว้ใช้สำหรับการยกของในโรงงานมากกว่าการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพราะยังทำได้แค่ยกขึ้นลงเป็นหลัก แต่ก็เช่นกันครับ อันนี้ผมคิดว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าจะพัฒนาต่อไปอีกไกล จนนำมาใช้ได้จริง
Information technology
ระบบเรื่อง IT เป็นสิ่งที่ตั้งใจมาดูมากครับ เพราะกะว่าจะนำไอเดียมาพัฒนา Health at home อย่างเต็มที่ แต่ปรากฎว่า “ญี่ปุ่นล้วน ไม่มีไทย/อังกฤษปน” เลยทำได้แค่พยายามดูรูป แล้วก็ถามกันด้วยภาษามือเป็นหลัก จับ concept ได้บ้างบางอัน
Personal Health Record
เรื่อง PHR หรือข้อมูลสุขภาพของคนไข้นั้น ถือว่าเป็นจุดสุดยอดความฝันของคนสาธารณสุข และ คนในวงการไอที (จะมีอะไรสำคัญกว่าข้อมูลสุขภาพของเราละครับ) ผมคิดว่าประโยชน์ของมันเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว เทคโนโลยีก็ไม่ได้มีความซับซ้อนใดๆ เพียงแต่การ execution ในเรื่อง privacy, security, authority ต่างๆยังต้องใช้พลังในการขับดันอย่างมาก
อีกทั้งสำหรับเมืองไทยเรา อาจต้องย้อนกลับไปตั้งแต่เรื่อง input ที่ยังได้ข้อมูลดิจิตอลที่มีคุณภาพน้อยอยู่ เพราะปัจจุบันหลายๆโรงพยาบาลที่บอกว่าเป็น Paperless หรือ e-health ก็ยังเป็นเพียงการ scan กระดาษที่เขียนลงไปเท่านั้นเอง (แต่อนาคตมาแน่ครับ ผมมีความหวัง)
GPS-Tracking
ปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม คือการเดินหลงออกไปนอกบ้าน ซึ่งหลายๆคนจะได้เห็นการประกาศทาง social media บ่อยๆ (แล้วน่าจะถี่มากขึ้นเรื่อยๆ) ความท้าทายของปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่
เครื่องมือชื้นเล็กสำหรับผู้สูงอายุพกไว้ ส่วนเครื่องตัวใหญ่จะเป็นตัวชี้หา โดยเป็นลักษณะเข็มทิศ
นอกจากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปที่ส่วนกลางทำให้สามารถติดตามตำแหน่งได้
ปัญหาเรื่องการหลงหายนี้ ปัจจุบันคงไม่ได้ติดที่เรื่องเทคโนโลยี เพราะระบบ GPS ดีมากแล้วและราคาไม่ได้สูงมาก แต่ผมคิดว่าความท้าทายคือการออกแบบให้ผู้สูงอายุสามารถพกพามันไปด้วย เช่น ปัญหาเรื่องการชาร์ทแบทเตอรี่ ซึ่งผู้สูงอายุคงไม่มีใครอยากถอดมาชาร์ท ปัญหาเรื่องการพกพา จะออกแบบให้พกพาแบบใดเป็นกำไร ใส่ไว้ในรองเท้า ติดไว้ในเสื้อ หรือ พวกกุญแจ ถ้าใครมี passion เรื่องนี้ผมคิดว่าปัจจุบันเราน่าจะยังไม่เจอ solution ที่ work มากๆนะครับ
ETC
อุปกรณ์ช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน
ร้านขายอุปกรณ์หยิบจับ
ไม้เท้ารุ่นใหม่ ที่มีจุกยึดที่พื้นแบบหมุนได้หลายแนว เพิ่มความยืดหยุ่นและสมดุลในการใช้
ส่วนที่น่าสนใจคือมีการขายเฉพาะจุกตรงปลาย โดยนำไปต่อกับไม้เท้าที่มีอยู่แล้วด้วย
เจลแผ่นรองป้องกันแผลกดทับ
มีการโฆษณาให้เห็นว่าลดแผลกดทับได้จริง
แฟชั่นสำหรับผู้สูงอายุ
จริงก็เป็นตลาดที่น่าสนใจ แต่ในงานไม่ได้นำมาโชว์มากเท่าไหร่นัก อย่างในรูปนี้เป็นรองเท้าผู้สูงอายุที่ออกแบบไม่ต้องผูกเชือก ใส่ง่ายกระชับ ผมชอบเพราะรู้สึกว่าดีไซน์ดูสวยดี
จริงๆยังมีอีกหลายอย่างมากที่ผมไม่ได้นำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะงานใหญ่มาก เดินทั้งวันจนปวดขาเลยทีเดียว สำหรับท่านไหนที่สนใจเรื่องของสังคมผู้สูงอายุ หรือ ธรุกิจผู้สูงอายุ ผมคิดว่าเป็นงานที่น่าสนใจทีเดียวครับ งานนี้จัดให้เข้าฟรีครับ
สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ https://www.hcrjapan.org/english/
และขอทิ้งท้ายด้วย VDO สรุปภาพบรรยากาศของงาน และรวมไฮไลท์ครับ
Tag:
เทคโนโลยี และนวัตกรรมผู้สูงอายุ
แชร์บทความนี้:
นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ
CEO บริษัท เฮลท์ แอท โฮม (Health at Home)
หมอตั้ม อายุรแพทย์หนุ่ม ผู้สนใจศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุ (Geriatric medicine) และมีความตั้งใจทำให้การดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับทุกคน
Related Posts
นั่งวีลแชร์เที่ยวราชบุรี! รวมที่เที่ยวสำหรับคนนั่งรถเข็นวีลแชร์ในราชบุรี
บริษัท เฮลท์ แอท โฮม จํากัด
ชั้น 24 จัสท์โค สามย่าน มิตรทาวน์
ออฟฟิศ ทาวเวอร์ 944 ถ.พระราม 4
วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330