ปัจจัยหลักในการออกแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับผู้สูงอายุ

ปัจจัยหลักในการออกแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับผู้สูงอายุ
วันที่ 5 มี.ค. 2564 | ผู้เข้าชม 3,017 ครั้ง | โดย วิชนี ดอกบัว

บ้านชั้นเดียวสำหรับผู้สูงอายุ

ใครที่กำลังมองหาที่ดินมาสร้างบ้านชั้นเดียว หรือ มีที่ดินครอบครองอยู่ในมือ แล้วกำลังคิดจะสร้างบ้านชั้นเดียวที่รองรับได้ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และก็ตัวคุณเองที่อายุมากขึ้นเรื่อยๆ ไปตามกาลเวลาก็ได้เวลาอันสมควรที่จะมาดู 5 ปัจจัยหลักในการออกแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับผู้สูงอายุแล้ว ว่าควรจัดฟังก์ชันอะไรยังไงบ้างเพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบาย และสามารถรองรับสังคมผู้สูงอายุได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

1. บ้านชั้นเดียวกับทางเข้าบ้านที่รองรับวีลแชร์ได้

นอกจากบ้านชั้นเดียว ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักในการออกแบบบ้านสำหรับผู้ชราแล้ว หลักในการออกแบบบ้านชั้นเดียวเพื่อให้คนชราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอันดับต้นๆ ก็คือ ทางเดินเข้าออกตัวบ้าน ส่วนนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทุกแบบบ้านชั้นเดียวจะต้องมี เนื่องจากเป็นตัวนำพาคนชราเข้าออกสู่บ้านชั้นเดียว ซึ่งจะแบ่งสองส่วนด้วยกันคือ ทางลาด กับ บันไดทางเข้าบ้าน โดยทางเดินเข้าบ้านทั้งสองทางนี้จะต้องมีราจับตลอดแนว และมีความกว้างมากกว่า 50 ซม. ขึ้นไป และไม่น้อยกว่า 90 ซม. เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่นั่งวิลแชร์ได้ รวมไปถึงทางลาดทางลาดต้องมีความลาดชันไม่เกิน  1:12 ตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราพ.ศ. 2548 กำหนด

2.บ้านชั้นเดียวกับประตูทางเข้าบานใหญ่

เมื่อผู้ชราผ่านด่านทางเดินเข้าบ้านได้แล้ว ก็จะพบกับด่านสอง นั่นก็คือประตูทางเข้าบ้าน แน่นอนว่าขนาดของประตูทางเข้าออกบ้านจะต้องมีขนาดกว้างกว่าวีลแชร์หรือมากกว่า 36 นิ้วขึ้นไป ประตูจะต้องใช้แรงผลักเข้าออกง่ายไม่ฝืดเคือง แต่ก็ต้องไม่เบามากเพราะผู้ชราที่เปิดเข้าออกอาจจะลื่นล้มไปกับประตูที่ที่เปิดออกด้วยความรวดเร็วมากได้

ดังนั้นประตูทางเข้าบ้านส่วนใหญ่ของแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับคนชรานั้นจึงมักเลือกใช้บานประตูแบบเลื่อนสองตอนที่สามารถจับเกาะและพยุงตัวได้ รวมไปถึงสามารถเปิดช่องทางการเข้าบ้านได้เป็นระยะกว้าง ต้องออกแบบให้ลางเลื่อนนั้นขนาบไปกับพื้นบ้านทางเข้าออกเพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม โดยสามารถดรอปพื้นลงไปเพื่อวางลางเลื่อนได้

3.บ้านชั้นเดียวกับวัสดุที่ตอบโจทย์ความปลอดภัยและสุขภาพ

เมื่อเข้ามาในตัวบ้าน สิ่งแรกที่ผู้ชราจะต้องสัมผัสเมื่ออยู่ในตัวบ้านชั้นเดียวก็คือพื้นบ้าน วัสดุตรงนี้ถ้าอยากจะเน้นความสวยงามด้วยการใช้กระเบื้องแบบขัดมันรับรองว่าไม่ปลอดภัยสำหรับคนชราแน่นอน ดังนั้นการออกแบบบ้านชั้นเดียวสำหรับในส่วนของพื้นจะต้องเน้นพื้นกระเบื้องผิวด้าน ซึ่งสามารถศึกษาวัสดุปูเพื่อนเบื้องต้นได้จาก วัสดุปูพื้นบ้าน กระเบื้องแบบไหน ควรใช้งานกับส่วนใด รวมไปถึงผนังบ้าน เพดาน ก็ควรมีการเคลือบผิวด้วยไวนีล เพื่อการทำความสะอาดที่ง่ายและไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาเป็นประจำ

ส่วนในเรื่องการตกแต่งบ้านชั้นเดียวที่ประกอบไปด้วย เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และฝุ่น ตรงนี้ตัดทิ้งไปได้เลย เพื่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น พรม ผ้าม่าน และเฟอร์นิเจอร์แบบลอยต่างๆ ควรเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป สามารถใช้งานได้แบบไม่ต้องก้มหรือย่อ และควรออกแบบให้บริเวณรอบบ้านมีต้นไม้ใบหญ้าเยอะๆ เพื่อคอยจับฝุ่นที่จะเข้ามาในตัวบ้าน ไม่เพียงแค่นั้นพื้นที่สีเขียวยังช่วยให้บ้านได้รับความร่มรื่นและอากาศบริสุทธิ์อันเป็นที่ชื่นชอบของคนชราด้วย

4.บ้านชั้นเดียวกับห้องนอนที่รองรับความสะดวก

สำหรับการออกแบบบ้านชั้นเดียวให้ตอบโจทย์ผู้สูงอายุมากที่สุดต่อมาก็คือการวางตำแหน่งของห้องนอน ควรอยู่ใกล้กับฟังก์ชันอื่นๆ อาทิ ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร หรือ ห้องที่มีการเดินผ่านไปมาของคนภายในบ้าน เพื่อที่ผู้ชราจะสามารถเชื่อมต่อไปใช้งานห้องต่างๆ ได้อย่างสะดวก อีกทั้งคนในบ้านจะได้สามารถดูแลผู้ชราได้อย่างทั่วถึง แต่ทั้งนี้ก็ต้องออกแบบห้องนอนของผู้ชราให้มีความเป็นส่วนตัวไปในตัวด้วย ส่วนใหญ่ Layout ของห้องนอนคนชราจะอยู่บริเวณมุมบ้าน หรือ มุมที่สามารถรับแสงธรรมชาติได้สองด้าน เพื่อเป็นการเปิดห้องให้โล่ง โปร่ง สบาย และสามารถเปิดบานหน้าต่างออกเพื่อรับลมธรรมชาติได้ โดยบานหน้าต่างต้องออกแบบดีไซน์ให้สูงกว่าเอวหรือที่ความสูงประมาณ 1 ฟุต เพื่อป้องกันการพลัดตกลงมาจากห้องนอน

ส่วนเตียงไม่ควรมีขอบมุมที่แหลม และไม่จำเป็นต้องสูงมาก ควรวางเข้ามุมเพื่อป้องกันการกลิ้งตกเตียง และต้องเหลือพื้นที่ปลายเตียงและข้างเตียงไว้สำหรับเดินเข้าออกห้องได้อย่างง่ายดายด้วย ซึ่งถ้าจะให้ดีสามารถติดตั้งราวจับตามจุดสำคัญในห้องได้ถ้าห้องมีขนาดกว้างมาก

5.บ้านชั้นเดียวกับห้องน้ำที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงวัย

มาที่ส่วนสำคัญส่วนสุดท้ายอย่างห้องน้ำ และเป็นส่วนที่ต้องระมัดระวังที่สุดเพราะผู้สูงอายุจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งกับโซนนี้ ดังนั้นห้องน้ำที่ดีควรอยู่บนพื้นที่ที่คนในบ้านเป็นหูเป็นตาด้วยกันได้ โดยแบบแปลนบ้านชั้นเดียวส่วนใหญ่จะออกแบบให้ห้องน้ำอยู่ใกล้กับห้องนอนแต่ไม่อยู่ในห้อง เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ และสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ง่าย

อ้างอิง https://www.reviewyourliving.com/infographic/ปัจจัยหลักในการออกแบบ/