4 วิธีตรวจคัดกรองเฉพาะโรคที่ควรรู้
4 วิธีตรวจคัดกรองเฉพาะโรคที่ควรรู้
การตรวจคัดกรองเฉพาะทางจะทำให้เราได้รู้ถึงความเสี่ยงของร่างกายต่อโรคร้าย หรือสามารถช่วยเราหาโรคที่ไม่แสดงอาการในช่วงระยะแรกได้ หากตรวจพบเจอได้ไวจะสามารถรักษาได้ทัน ถือเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อเสริมความมั่นใจให้กับร่างกายของเราทั้งการเจาะเลือด การอัลตราซาวด์ การเอกซเรย์ และการตรวจปัสสาวะ
เจาะเลือดเพื่อหาโรคแฝง
ช่วยค้นหาโรคที่ไม่แสดงอาการ หรือวิเคราะห์โรคแฝงได้ เช่น โรคเอดส์ในระยะแรก โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาโรคตับอ่อน โรคกระเพาะอาหารได้ด้วย
อัลตราซาวด์วิธีหาความเสี่ยงที่ไม่มีอันตราย
สามารถช่วยตรวจอวัยวะภายในต่าง ๆ ทำให้เห็นถึงความผิดปกติ เช่น มีก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำหรือไม่ ซึ่งการอัลตราซาวด์เป็นวิธีที่ไม่อันตราย โดยจะมีการอัลตราซาวด์อยู่ 2 ส่วน คือ
- การอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน เป็นการตรวจดูอวัยวะ ได้แก่ ตับ, ม้าม, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดีส่วนต้น, ไต และหลอดเลือดแดงใหญ่, ตับอ่อน เป็นต้น
- การอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง เป็นการตรวจดูอวัยวะ ได้แก่ มดลูก, รังไข่ (หญิง), ขนาดของต่อมลูกหมาก (ชาย), กระเพาะปัสสาวะ, ไส้ติ่ง เป็นต้น
เอกซเรย์อวัยวะหาความผิดปกติ
วิธีนี้เป็นหนึ่งในขั้นตอนการวินิจฉัยความผิดปกติภายในร่างกายโดยแพทย์ ซึ่งสามารถตรวจสอบอาการของคนไข้ได้หลายประการ เช่น ตรวจหาสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย หรือการกลืนวัตถุต่าง ๆ ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก ตรวจหาความความผิดปกติบริเวณเนื้อของเต้านม ตรวจการอุดตันของหลอดเลือด ตรวจหาปัญหาสุขภาพปอด โดยการตรวจเอกซเรย์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
- กระดูก เพื่อตรวจดูความผิดปกติของกระดูกตามส่วนต่าง ๆ เช่น ฟัน แขน ขา เป็นต้น
- ทรวงอก เพื่อตรวจปอด หัวใจ การตรวจแมมโมเเกรมเพื่อหามะเร็งเต้านม
- ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและหาสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
การตรวจปัสสาวะหาการติดเชื้อ
เป็นการตรวจพื้นฐานทางใช้ในหลายกรณี สามารถใช้วินิจฉัยโรคหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในเบื้องต้น เช่น อาการปวดท้อง ปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะมีเลือดปน เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยตรวจคัดกรองโรคในอวัยวะหลายส่วน เช่น โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น
การตรวจคัดกรองเป็นทางเลือกที่ดีในการหาโรคร้ายที่ทุกคนควรรู้ และควรทำหากปล่อยร่างกายไว้ไม่ยอมดูแลอาจมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายมากขึ้นได้
อ้างอิง https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Screening-Disease