ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

 ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
วันที่ 27 ก.ค. 2564 | ผู้เข้าชม 3,179 ครั้ง | โดย กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (ทนส.กยผ.)

https://dashboard.anamai.moph.go.th/

KISS's Developer Team

ทีมพัฒนาระบบสารสนเทศ คลัสเตอร์ KISS

นายนุกูลกิจ พุกาธร 

หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบข้อมูล

กองแผนงาน

ผลงาน: บริหารระบบ

นายดุลยวัฒน์ มาป้อง

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ

กองแผนงาน

ผลงาน: วิเคราะห์และออกแบบระบบ

นางสาวภัสราภรณ์ ห้อยกรุด

นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ

กองแผนงาน

ผลงาน: ประสานงาน, จัดการประชุมทีม

นางสาวนภาภรณ์ นิมิตเดชกุลชัย

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

กองแผนงาน

ผลงาน: ประสานงาน, จัดการประชุมทีม

นายธนพล สวารักษ์

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

กองแผนงาน

ผลงาน: ดูแลระบบ, ประสานงาน

นายประดิภาส สุขเสาร์เกิด

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ผลงาน: วิทยากรพัฒนาศักยภาพทีม, Manifest

นายสาธิต อยู่ศรี

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

ผลงาน: GREEN&CLEAN, คุณภาพน้ำ, อัตราการเกิดมีชีพ(IMR), แดชบอร์ดต่างๆ

นายอนุพงศ์ กันธิมา

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี

ผลงาน: SEZ, EEC, NEHIS, ข้อมูลประชากร

นายอนุวัฒน์ พัฒสงคราม

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก

ผลงาน: Long Term Care (LTC), แดชบอร์ดต่างๆ

นายสุรสีห์ ฉันทกุล

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบและแรงงานข้ามชาติ

ผลงาน: อัตรามารดาตายต่ออัตราการเกิดแสนคน (MMR), HIV แม่สู่ลูก, แดชบอร์ดต่างๆ

นางสาวอรรัมภา ศรีสง่า

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

ผลงาน: ตำบลมีชุมชนจัดการปัจจัยเสี่ยง, Active Community, แดชบอร์ดต่างๆ

นายเอกลักษณ์ ชินคำ

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

ผลงาน: DOH Alerts, API

นายธวัชชัย สุธาชัย

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ เชียงใหม่

ผลงาน: เด็กไทยสายตาดี, แดชบอร์ดต่างๆ

นายภากร ช่วยสกุล

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

ผลงาน: วิทยากรพัฒนาศักยภาพทีม

นายเกรียงศักดิ์ แสนไชย

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

ผลงาน: แดชบอร์ดต่างๆ

 

ทีมสนับสนุนการพัฒนาระบบ

ขอขอบคุณทีมพัฒนาระบบคลัสเตอร์ KISS (KISS's Developer Team) กลุ่มบุคคลที่มีเสียสละเวลาจากงานภารกิจประจำในหน่วยงานมาร่วมพัฒนาระบบ DoH Dashboard เพื่อให้กรมอนามัยมีระบบข้อมูลและสารสนเทศสนับสนุนงานตามภารกิจ ในองค์กรขนาดใหญ่จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน โดยจัดรูปแบบการทำงานแบบโครงการ (Project) เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนและขอบเขตงานหลากหลาย ครอบคลุมไปหลายส่วนงาน ดังนั้นความรู้ ทักษะ และความเข้าใจของบุคคลเพียงคนเดียวจึงไม่เพียงพอ ปกติมีทีมพัฒนาระบบจะประกอบไปด้วย

1)คณะกรรมการดำเนินงาน (Steering Committee) มีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบ ตั้งแต่การกำหนดรูปแบบและวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศ โดยคณะกรรมการจะถูกจัดตั้งขึ้นจากบุคคลจากหลากหลายสาขา เช่น ผู้บริหารระดับสูง เจ้าของระบบงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ เป็นต้น เพื่อระดมความคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับระบบงานที่พัฒนาอย่างเหมาะสม

2)ผู้จัดการระบบสารสนเทศ (MIS Manager) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลและประสานงานในการวางแผนงานของโครงงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ

3)ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) เป็นบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแผน การจัดการ และควบคุมให้งานในแต่ละโครงการดำเนินไปได้อย่างราบรื่นสำเร็จลุล่วงและมีประสิทธิภาพ โดยผู้จัดการโครงการจะรับผิดชอบในการตัดสินใจ จัดสรรทรัพยากรการดำเนินงานของโครงการให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ภายใต้ข้อกำหนดของงบประมาณและระยะเวลา

4)นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นบุคคลสำคัญที่ก่อให้เกิดผลงานขึ้นในขั้นตอนต่างๆ ของการพัฒนาระบบ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการการออกแบบและการพัฒนาระบบ เป็นต้น

5)นักเขียนโปรแกรม (Programmer) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดคำสั่งการดำเนินงานให้กับระบบที่กำลังพัฒนาบางครั้งนักเขียนโปรแกรมอาจไม่ต้องพัฒนาชุดคำสั่งขึ้นมาทั้งหมด แต่ทำการปรับปรุงชุดคำสั่งสำเร็จรูป (Software Package)ให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบ เลือกโดยพิจารณา ตัดสินใจและประสานงานกับผู้ขายภายนอก

6)เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล (Information Center Personnel) ทำหน้าที่ช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบและนักเขียนโปรแกรมในการพัฒนาระบบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ เพื่อนำมาใช้งานได้ตามต้องการ โดยเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อให้สะดวกและรวดเร็วต่อการใช้งาน

7)ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and General Manager) เป็นบุคคลที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานเดิม และช่วยกำหนดความต้องการในระบบใหม่แก่ทีมงานพัฒนาระบบ เพื่อพัฒนาให้ระบบใหม่มีประสิทธิภาพและเป็นที่
พึงพอใจของผู้ใช้ ประการสำคัญ ผู้ใช้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้งานระบบสารสนเทศจึงสมควรมีส่วนร่วมทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในการพัฒนาระบบ โดยนอกจากจะเป็นผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนาระบบแล้ว เขายังสมควรอยู่ร่วมในทีมานพัฒนาระบบใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถปฏิบัติงานได้ตามที่ต้องการ ปัจจุบันเป็นการยากที่บุคคลเพียงคนเดียวจะปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การที่ต้องการความรู้และความชำนาญจากหลายหน้าที่ (Cross Function) ทำให้การปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม (Team Work) เป็นวิธีการที่เหมาะสม นอกจากนี้ในทางปฏิบัติบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มอาจมีส่วนร่วมในทีมพัฒนาระบบโดยทำงานในหลายงานร่วมกันเป็นทีมมิใช่แค่การรวบรวมบุคคลจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาปฏิบัติงานร่วมกัน โดยทั้งหัวหน้าทีม (Team Leader)และสมาชิกสมควรได้รับการเตรียมความพร้อมด้านการประสานงานการสื่อความเข้าใจ การแก้ปัญหา และประสานความขัดแย้ง ตลอดจนการยอมรับในความคิดเห็นและความแตกต่างของบุคคลเพื่อสร้างวิญญาณของทีม (Team Spirit) ซึ่งจะทำให้สมาชิกปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ