6 วิธีที่จะทำให้ผู้สูงอายุไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกขโมยเงินในธนาคาร
แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะทราบกลโกงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์อยู่เเล้้วจากการที่หน่วยงานต่างๆ ออกมาให้ข้อมูลเเละเตือนให้ระวัง แต่ก็ยังคงมีคนหลงกล ตกเป็นเหยื่อ ผู้เสียหายไม่ได้มีเพียงแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมิจฉาชีพมีการพัฒนากลโกงมาหลอกขโมยเงินเราโดยใช้ช่องทางออนไลน์ปลอมเป็นธนาคารต่างๆ ดังนั้นกรมกิจการผู้สูงอายุจึงชวนผู้สูงอายุเเละคนทุกช่วงวัยมาเสริมเกราะความรู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ ด้วย 6 วิธีที่จะทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกขโมยเงินในธนาคาร
1.ตั้งสติ ระวัง ช่างสังเกต อย่าให้ข้อมูลกับใครง่ายๆ เเละอย่ารีบร้อนและไม่ทำธุรกรรมทางการเงินพร้อมๆ กับทำกิจกรรมอื่นๆ เพราะอาจทำให้เผลอและขาดความระมัดระวังได้
2. อย่าให้หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวในทันที เนื่องจากธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความ ขอข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล, SMS, LINE, Facebook Messenger เป็นต้น หากไม่แน่ใจโทรถาม call center ของธนาคาร
3.สังเกตลิงก์ที่แนบมา กับข้อความเสมอ ว่าลิงก์นั้นเป็นเว็บไซต์ของธนาคารจริงหรือไม่ โดยเว็บไซต์ของธนาคารจะขึ้นต้นด้วย https:// เท่านั้น และมีสัญลักษณ์รูปกุญแจอยู่ด้านหน้าชื่อ รวมทั้งต้องตรวจสอบชื่อ URL ว่าถูกต้องหรือไม่
4. ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะ ในการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ เพราะมีช่องโหว่ให้มิจฉาชีพเจาะเอาข้อมูลสำคัญเช่น Username, Password ในการเข้าไปขโมยเงินในบัญชีของเราได้
5.จำกัดวงเงินเบิกถอนต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเงินจำนวนมาก
6.หากเผลอให้ข้อมูลไปแล้ว รีบเปลี่ยนรหัส ในการทำธุรกรรมต่างๆ ทันที แล้วรีบติดต่อธนาคารเพื่ออายัดบัญชีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ที่มา : ธนาคารไทยพาณิชย์