โรคลมเเดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) อันตรายจากอากาศร้อนที่ผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม

ฮีทสโตรก (heat stroke) หรือที่เรียกว่าโรคลมแดด เป็นภาวะรุนแรงที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูง ทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้อาจหมดสติ ชัก และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทความนี้จะมาอธิบายถึงอาการ สาเหตุ กลุ่มเสี่ยง วิธีปฐมพยาบาล และการป้องกันโรคฮีทสโตรก เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในช่วงหน้าร้อน
- อาการของฮีทสโตรก สามารถแบ่งออกได้ตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้:
- อาการเบื้องต้น
- ปวดศีรษะ และมีอาการเวียนหัว
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- เหงื่อออกมาก หรือบางครั้งเหงื่อไม่ออกเลยในบางกรณีที่ร่างกายร้อนเกินไปจนระบบขับเหงื่อหยุดทำงาน
- อาการรุนแรง
- ขาดน้ำจากการสูญเสียความร้อน
- ฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด มีภาวะชัก หมดสติ หรือการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- การดูแลตัวเองในหน้าร้อน คือ
- ดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าปกติ : โดยเฉพาะเมื่อต้องออกกำลังกายหรือทำงานในที่กลางแจ้ง
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน : หากต้องออกกลางแจ้ง ควรใส่หมวกหรือกางร่มเพื่อป้องกันความร้อน
- ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี: เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น
- พักในที่ร่มและมีลมพัดผ่าน : ควรหาที่พักในที่ที่มีการระบายอากาศดี เช่น ห้องที่มีพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
- ไม่ควรออกกำลังกายหนักในช่วงที่ อากาศร้อนจัด : เลือกช่วงเวลาที่อากาศเย็นลง หรือทำกิจกรรมในช่วงเช้าหรือเย็นแทน
- ไม่ควรอยู่ในห้องปิด : เปิดประตู หน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ฮีทสโตรก (heatstroke) ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามในช่วงหน้าร้อน เพื่อความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้าง ควรเตรียมตัวและระมัดระวังไม่ให้เกิดภาวะนี้โดยการดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนาน และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ สามารถอ่านบทความเพิ่มเติม โรคลมแดด (heat stroke) ได้ที่นี่
- ข้อควรระวังคือ อย่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ เตรียมน้ำ ดื่มน้ำเยอะ ๆ อาจจะต้องเยอะกว่าในฤดูอื่น
ที่มา : รามาแชนแนล Rama Channel
อ้างอิงข้อมูล : รศ. นพ.กานต์ สุทธาพานิช ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล