เทคนิคสื่อสารกับผู้สูงอายุให้สบายใจและเข้าใจง่าย

เทคนิคสื่อสารกับผู้สูงอายุให้สบายใจและเข้าใจง่าย
ข้อที่ 1 : การใช้ภาษาที่สุภาพและอ่อนโยน ควรพูดด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น และให้ความสำคัญกับการฟังความคิดเห็นของผู้สูงอายุด้วยความใส่ใจช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกได้รับการเคารพและมีคุณค่า
ข้อที่ 2 : สื่อสารอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย ควรใช้คำพูดที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน และพูดช้า ๆ หรือ ใช้ภาษากายเสริมการสื่อสาร เช่น การพยักหน้า การสัมผัสเบาๆ ที่มือ เพื่อแสดงถึงความห่วงใย
ข้อที่ 3 : ฟังอย่างตั้งใจและใส่ใจในรายละเอียด ควรให้ผู้สูงอายุได้พูดถึงเรื่องราวของตนเอง หรือความรู้สึกที่มี โดยไม่ขัดจังหวะการพูด ใช้การตอบกลับเชิงสนับสนุน เช่น การพยักหน้า หรือการตอบรับที่แสดงถึงความเข้าใจ เช่น "อืม เข้าใจแล้วค่ะ/ครับ"
ข้อที่ 4 : การแสดงความห่วงใยผ่านการสื่อสาร ควรแสดงออกถึงความห่วงใยและใส่ใจในความรู้สึกของผู้สูงอายุ เช่น การถามไถ่เกี่ยวกับสุขภาพ หรือถามว่า "วันนี้รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง?" ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าคุณให้ความสำคัญและห่วงใยจริงๆ
ข้อที่ 5 : สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและอบอุ่น เป็นการสร้างบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกสบายใจและอบอุ่นเป็นกันเอง จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าได้รับการดูแลและสามารถพูดคุยได้อย่างเปิดใจ เช่น นั่งฟังผู้สูงอายุเล่าเรื่อง หรือพาออกไปทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขมากขึ้น
ที่มา : ศูนย์ดูเเลพักฟื้นผู้ป่วยเเละกายภาพเซ็นจูรี่แคร์