การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ |
---|
การจัดตั้งโรงเรียนผู้สุงอายุ ๑.ต้องดำเนินการอย่างไร ๒.แนวทางการดำเนินงาน ของโรงเรียนผู้สูงอายุ ๓.ถ้าเป็นการดำเนินงานแบบต่อเนื่อง สามารถขอสนับสนุนงบประมาณได้จากหน่วยงานใด |
โดย : พัฒนาชุมชน
วันที่ : 3 พฤษภาคม 2559 | 107,038 ครั้ง
|
ขอบคุณครับ จัดฟัน รักษารากฟัน ครอบฟัน เคลือบฟัน อุดฟัน ฟอกฟันขาว ฟันปลอม |
|
โดย Norrawed
วันที่ : 10 ก.ค. 2559 เวลา 22:18
|
เรียน คุณพัฒนาชุมชน การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
1. การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นรูปแบบหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษา การพัฒนาทักษะ โรงเรียนผู้สูงอายุหลายแห่งตั้งขึ้นโดยใช้อาคารเรียนเก่าของโรงเรียนที่เลิกกิจการหรือตั้งอยู่ในชมรมผู้สูงอายุ ภายในวัด บางแห่งใช้บ้านของผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสถานที่ดำเนินการการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในระยะแรก อาจเป็นเพียงการรวมกลุ่มพบปะพูดคุยกัน แล้วจึงค่อยๆ มีรูปแบบชัดเจนขึ้น มีกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้สูงอายุ หรืออาจเป็นการขยายกิจกรรมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ศูนย์บริการทางสังคม
วัตถุประสงค์ของโรงเรียน 1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ 2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ 3. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม 5. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ คุณค่าภูมิปัญญาผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ 6. เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดต่อไป
ประโยชน์ที่ผู้สูงอายุได้รับจากโรงเรียนผู้สูงอายุ 1. ด้านสุขภาพร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง กระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย ลดระยะเวลาการพึ่งพาผู้อื่น อายุยืน 2. ด้านจิตใจ ช่วยให้คลายเหงา จิตใจกระชุ่มกระชวย สดชื่น รู้สึกภาคภูมิใจและตระหนักในคุณค่า ความสามารถของตนเอง มีมุมมองเชิงบวกต่อตนเอง 3. ด้านสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย ได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกกของกลุ่ม 4. ด้านจิตปัญญา รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามวัย 5. ด้านเศรษฐกิจ เรียนรู้ทักษะทางด้านอาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยเหลือตนเองต่อไป
ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม 1. โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นพื้นที่เรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ดำรงสืบทอดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 2. โรงเรียนผู้สูงอายุเป็น “เวที” ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมทั้งอาจเป็นแรงผลักดันให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในชุมชน
2. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ ขั้นตอนการดำเนินงาน - ประชุมประชาคมเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่ - คัดเลือก และแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ - จัดทำแผนขั้นตอนในการดำเนินงาน - จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ - ขับเคลื่อนการดำเนินงาน - ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
โครงสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ ควรมีองค์ประกอบดังนี้ - ที่ปรึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุ การตั้งที่ปรึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นกลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการรับรู้การดำเนินงานของโรงเรียน และเป็น “ใบเบิกทาง” ให้แก่การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลต่อการสร้างความน่าเชื่อถือในการทำงาน และถือเป็นการสร้างพันธมิตรในการทำงานชั้นเยี่ยม ที่ปรึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุ อาจเป็นฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาส เช่น นายอำเภอ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการหรือข้าราชการเกษียณ เป็นต้น - ครูใหญ่ หรือประธาน หรือผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุ องค์ประกอบนี้ เป็นส่วนสำคัญมากและถือเป็น “หัวใจ” ของการขับเคลื่อนงาน ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ หรือประธาน หรือผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นแกนนำที่เป็นผู้ริเริ่มงานของโรงเรียนผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับและศรัทธาจากกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประสานงานและรังสรรค์กิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียน - คณะกรรมการและแกนนำร่วมขับเคลื่อน ถือเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขของความสำเร็จ เพราะกลไกหลัก - ทีมวิทยากรจิตอาสา เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของโรงเรียนผู้สูงอายุเพราะใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีเป็นตัวตั้งขับเคลื่อน ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น วิทยากรจากสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน ข้าราชการบำนาญ พระสงฆ์ รวมถึงการขอความอนุเคราะห์วิทยากรจิตอาสาจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งในลักษณะเครือข่ายทางสังคม เช่น กศน. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร รพ.สต. โรงพยาบาลสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในแต่ละจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
การบริหารจัดการ ด้วยหลัก 5 ก ประกอบด้วย - กลุ่ม ต้องสร้างการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุให้เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นกลุ่มแกนนำคณะทำงาน และกลุ่มสมาชิก หรือกลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการทำงาน ในขั้นนี้อาจมีกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นกลุ่มก้อนได้หลายวิธี เช่น การเปิดรับสมัครสมาชิกหรือนักเรียนผู้สูงอายุ การต่อยอดจากกลุ่มเดิมที่เคยมีอยู่ในชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ การสร้างสัญลักษณ์ของความเป็นกลุ่มสมาชิก อาทิ มีสัญลักษณ์โรงเรียนผู้สูงอายุ - กรรมการ ถือเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มที่จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกลุ่มให้การทำงานประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ควรสร้างกระบวนการคัดเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ช่วยกันขับเคลื่อนการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้การบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ - กติกาหรือข้อตกลงร่วมกัน ต้องเกิดจากความเห็นพ้องต้องกันของสมาชิกในโรงเรียนผู้สูงอายุ เหมือนเป็นสัญญาใจที่มีต่อกันว่าจะร่วมกันยึดถือและปฏิบัติตาม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน แม้ว่าเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการชุดใหม่จะยังคงมีแนวทางการทำงานเดิมให้เห็นและพัฒนาต่อยอดได้ - กิจกรรม ในระยะเริ่มแรกอาจเน้นไปที่การสร้างกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เช่น การจัดให้มาพบปะกันทุกเดือน มีกิจกรรมร้องเพลง กิจกรรมนันทนาการรูปแบบอื่น ๆ กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนหรือการรวมกลุ่ม ออกกำลังกาย เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จึงเคลื่อนไปสู่การทำกิจกรรมที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การบูรณาการโรงเรียนผู้สูงอายุเข้ากับการทำงานของ “ธนาคารความดี” - กองทุน การขับเคลื่อนงานของโรงเรียนผู้สูงอายุให้เป็นไปอย่างมั่นคงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการหางบประมาณเพื่อการดำเนินงานด้วยตนเอง วิธีการหางบประมาณเข้ากองทุนของกลุ่ม อาจจำแนกได้เป็น การสร้างกองทุนของตนเองการเก็บค่าสมาชิก การขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม การเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน แหล่งทุนต่าง ๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุน อย่างไรก็ตาม งบประมาณไม่ใช่หัวใจของการขับเคลื่อนงานได้เท่ากับการมีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะที่จะสร้างสรรค์สวัสดิการทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ทุ่มเท เสียสละ และมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์กิจกรรม 2. มีเป้าหมายชัดเจนและมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน 3. มีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมจะทำให้เกิดความผูกพันและความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน กลไกที่ทำให้สมาชิกมีส่วนร่วมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประชุมประจำเดือน การสร้างเวทีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การร่วมกันดำเนินงาน 4. มีเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง การสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ การสร้างเครือข่ายทางสังคมภายในกลุ่มหรือในหมู่สมาชิกของโรงเรียนผู้สูงอายุด้วยกัน เช่น ในรูปแบบคณะกรรมการ หรือการมีตัวแทนในแต่ละหมู่บ้าน และการให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน องค์กรภายนอก เพื่อประสานพลังในการทำงานร่วมกัน 5. มีการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยการทบทวนตนเองและสรุปบทเรียนในการทำงานเป็นระยะ เรียนรู้จุดแข็ง จุ🙂่อน ข้อที่ควรพัฒนาให้ดีขึ้น และนำมาพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง 6. มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนุนเสริม การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น งบประมาณ บุคลากร สถานที่ การประสานเครือข่าย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่จะผลักดันให้การเคลื่อนงานของโรงเรียนผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้ และดำเนินการไปอย่างราบรื่น
3. ถ้าเป็นการดำเนินงานแบบต่อเนื่อง สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้จากหน่วยงานใด หากประสงค์ที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณ สามารถเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน แหล่งทุนต่าง ๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , กองทุนผู้สูงอายุ , กองทุนสุขภาพตำบล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น |
|
โดย กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ
วันที่ : 10 พ.ค. 2559 เวลา 10:18
|
ควรมีคะเพราะสมัยนี้ผู้สูงอายุมีมากไม่มีกิจกรรมไรทำแล้วทำให้ร่างกายและจิตใจเสื่อมถอย |
|
โดย สุภัควดี เปรมขัยพร
วันที่ : 8 ธ.ค. 2559 เวลา 07:58
|
ควรที่จะส่งเสริมผู้สูงอายุในเรื่องของการสื่อสารบนโลก Social on line แบบพื้นฐานที่ไม่มีความยุ่งยากมากเพราะถึงอย่างไรเราก็หนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ตามกาลเวลาเพราะวัฒนะธรรมต่างๆมันเป็น Automatic propulsion Driving ขอสมัครเป็นครูอาสาชี้แนะแบบพื้นฐาน Cuorse Digital ในการใช้โทรศัพท์อย่างถูกต้องและปลอดภัยโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆทั้งสิ้นในพื้นที่อำเภอมัญจาคีรีจังหวัดขอนแก่นและไกล้เคียงเช่นชัยภูมิ/ชุมแพ/สารคาม/ติดต่อได้ตามรายละเอียดนี้นะครับ Mobile 0833428678 Email [email protected] ID line 0982342460 / ID line Soonthonphaitee2501 face book สุนทร ครู ง.มัญจาคีรีขอนแก่น ยังมีผู้สูงอายุอีกหลายๆท่านต้องการการชี้แนะในการสื่อสารบนโลกโซเชี่ยลแบบง่ายๆแต่..จะมีซักกี่คนที่จะเข้าใจท่านเหล่านั้นถึงแม้ท่านจะมีบุตรหลานคอยแนะนำก็ตาม ด้วยความปรารถนาดีจาก (นักพัฒนาจิตอาสา)
|
|
โดย นายสุนทร ฝ่ายที
วันที่ : 2 พ.ค. 2560 เวลา 09:17
|
จำนวนผู้สูงอายุในโรงเรียน ตอนนี้มีกี่ท่านค่ะ |
|
โดย ปุ๊ก
วันที่ : 21 มิ.ย. 2560 เวลา 11:18
|
ขอชื่นชมคุณครูสุนทร ครู ง มัญจาคีรีค่ะ จิตใจท่านงามแท้น่าเสียดายที่ นี่ สระบุรีไกลเกินที่จะได้ร่วมงานกันค่ะ
|
|
โดย Bon Nongkhae Saraburi
วันที่ : 12 ก.ค. 2560 เวลา 19:30
|
ขอชื่นชม ท่านค่ะอยากให้มานำเสนอที่ รร.ผู้สูงอายุ อ.อุทุมพร จ.ศรีสะเกษ |
|
โดย อัญชลีพร อยู่หนูพะเนาว์ ตำแหน่งรองปลัด
วันที่ : 30 ส.ค. 2560 เวลา 09:58
|
ตั้ง โรงเรียนสูงอายุ มีกฏหมาย รับรองหรือ ไม่ |
|
โดย ขั้นเทพ
วันที่ : 26 เม.ย. 2561 เวลา 22:24
|
ขอสอบถามเป็นความรู้ว่า การที่จะจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุของโรงพยาบาลจะต้องทำเรื่องขออนุญาตได้ที่หน่วยไหนบ้างค่ะ |
|
โดย สุพัฒนา ผลพานิช
วันที่ : 27 ส.ค. 2561 เวลา 14:19
|
ผมจิตอาสาสอนโรงเรียนผู้สูงอายุที่ ตำบลหนองไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครราสีมา ประมาณ 30 ท่าน นัดพบนักเรียนเดือนละครั้ง ทุกท่านตั้งใจมาโรงเรียนดีมาก ห่อข้าวมารับประทานด้วยกัน วิชาที่สอนก็เน้นความสนุกสนานกิจกรรมการมีส่วนร่วม ออกกำลังกายประกอบเพลง งานประดิษฐ์เล็กๆน้อยๆ ร้องเพลง อยากได้ที่เป็นหลักสูตรว่าจะให้เรียนรู้อะไรบ้าง เครื่องแบบนักเรียน เครื่องหมายสัญญลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นแบบไหน? อยากให้หน่วยงานเบื้องบนแวะมาเยี่ยมชมบ้าง เป็นสิ่งที่ดีครับไม่อยากให้ผู้เฒ่าเฝ้าบ้านเหมือนที่ผ่านมา ขอผู้รู้แนะนำการสอนด้วยนะครับ |
|
โดย สุทธิวิทย์ จันทร์ภิรมย์
วันที่ : 22 ก.ย. 2561 เวลา 17:12
|
|
|
โดย นางเริ่ม มูลนา
วันที่ : 8 ธ.ค. 2561 เวลา 18:38
|
การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ หรือโรงเรียนผู้สูงวัย มีกฎหมายรองรับหรือไม่ เพราะถ้ามีชื่อว่า"โรงเรียน" จะต้องขออนุญาตจัดตั้งอย่างเป็นทางการ และโรงเรียนสูงอายุบางแห่งมีการแต่งกายเหมือนกับนักเรียน ผมคิดว่ามีความผิดตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551 |
|
โดย นายประเสริฐ จิตรเกาะ
วันที่ : 24 ม.ค. 2562 เวลา 09:23
|
|
|
โดย น.ส.กัณฑิมา วชราภรณ์พินทุ
วันที่ : 20 ก.พ. 2562 เวลา 16:53
|
|
|
โดย นราธิป แก้วสม
วันที่ : 11 ก.ค. 2563 เวลา 17:38
|
เป็นโครงการที่ดีมากครับ |
|
โดย สมรัก ภาชีทรัพย์
วันที่ : 13 ก.ค. 2565 เวลา 08:34
|
รร.ผู้สูงอายุมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ถ้าไม่เป็นหน่วยงานของรัฐแล้ว จะมีฐานะเป็นอะไร |
|
โดย นายวีรพล อยู่ศรี
วันที่ : 17 ส.ค. 2565 เวลา 16:17
|
อยากให้มีงบประมาณลงไปสนับสนุนเยอะๆ โดยที่มีเงื่อนไขและวิธีการดำเนินการที่ง่ายในการทำเอกสารไม่ยุ่งยาก |
|
โดย นางสาวสายฝน ชีซ้ำ
วันที่ : 24 ส.ค. 2566 เวลา 15:32
|
ผมคณะทำงานจากโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านเขาสมอแคลงตำบลวังทองอำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลกได้ขับเคลื่อนมาเป็นระยะเวลา 6-7 ปีเปิดทำการเรียนการสอนให้กับผู้สูงอายุทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ผมอยากทราบว่าการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านเขาสมอแคลงมีผู้มีกลุ่มผู้สูงอายุไปแจ้งขึ้นเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุของกระทรวงพัฒนาสังคมจังหวัดสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้หรือไม่ครับหรือสามารถตรวจสอบติดตามได้จากตรงไหนบ้างครับ |
|
โดย นายสมพงษ์จิตสีผู้ใหญ่บ้าน0947422452
วันที่ : 16 ก.ย. 2566 เวลา 22:11
|
อยากทราบตัวเลขงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วประเทศ ประจำปีงบ 2566 ครับ พอดีว่าจะนำตัวเลขไปทำรายงานครับ ไม่เจอแหล่งข้อมูล ขอบคุณครับ |
|
โดย ภักดิภูมิ
วันที่ : 23 พ.ย. 2567 เวลา 11:14
|